วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ศิลปกรรมอินเดีย
1.สถาปัตยกรรม
         สถาปัตยกรรม อินเดียได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย (ลานด้านใน ประตูโค้ง) ที่เมืองหลวงใหม่ของพระเจ้าอัคบาร์ คือ ฟาเตห์ปูร์สิครี ใกล้เมืองอัครา แสดงสถาปัตยกรรมแบบโมกุลแท้ในการสร้างราชวัง สุเหร่า เช่นเดียวกับหลุมศพของพระเจ้าอัคบาร์ที่สีกันดารา และ วัดโก-แมนดาล ที่โอไดปูร์ แต่งานที่เด่นที่สุด คือ ทัชมาฮัล ประดับด้วยหินมีค่า บนยอดเป็นหินสีขาว เส้นทุกเส้นเข้ากันได้อย่างงดงามกับสวน และน้ำพุ นับเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก นอกจากนั้นมีสุเหร่ามุกของเมืองอัครา เกิดนิกายขึ้นหลายนิกายในหมุ่คนฮินดู เช่น ตันตริก ซิก มาดวา ฯลฯ
         นอกจากนี้ยังมีซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธาร- ณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม ซาก พระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ) และสุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย




                                                    สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)


                                                                        สุสานทัชมาฮาล

2. ประติมากรรม
        เกี่ยวข้องกับศาสนา ได้แก่ พระพุทธรูปแบบคันธาระ พระพุทธรูปแบบมถุรา พระพุทธรูปแบบอมราวดี ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์


                                                              พระพุทธรูปแบบมถุรา


                                                                พระพุทธรูปแบบคันธาระ


                                                                  พระพุทธรูปแบบมถุรา


3. จิตรกรรม
          จิตรกรรม อินเดียตามประวัติศาสตร์แล้ว วิวัฒนาการมากจากการเขียนภาพบุคคลในศาสนาและพระมหากษัตริย์ จิตรกรรมอินเดียเป็นคำที่มาจากตระกูลการเขียนหลายตระกูลที่เกิดขึ้นในอนุ ทวีปอินเดีย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปมีตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ของถ้ำเอลเลรา (Ellora Caves) ไปจนถึงงานที่ละเอียดลออของจุลจิตรกรรมของจิตรกรรมโมกุล และงานโลหะจากตระกูล Tanjore ส่วนจิตรกรรมจากแคว้นคันธาระ-ตักกสิลา


                                         “พระรามกับสีดาในป่าแบบปัญจาบ ค.ศ. 1780

        เป็นจิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมเปอร์เซียทางตะวันตกจิตรกรรมในอินเดียตะวันออกวิวัฒนาการในบริเวณตระกูลการเขียนของนาลันทาที่เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากตำนานเทพอินเดีย
สมัย คุปตะ และหลังสมัยคุปตะ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง


                                                       ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ


ขอขอบคุณที่เข้ามารับชมน้ะคร้าปปป







การแต่งกายของชาวอินเดีย

การแต่งกายของชาวอินเดีย

           วัฒนธรรมการทอผ้ามัดหมี่และผ้ายกของอินเดีย
ผ้าอินเดียแบบดั้งเดิม พิมพ์โดยใช้สีสด ซึ่งมีความเชื่อว่า สิ่งทอสีสดและหลากหลายสีเป็น เอกลักษณ์เดิมของชาวอินเดีย และนิยมผ้าทอจากกี่ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องใช้ต่าง ๆ ใน ชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษล้วนแต่ทอด้วยมือโดยใช้กี่ การทอผ้าด้วยมือของอินเดียจะมี ลักษณะแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ซึ่งจะใช้ผ้าคลุมไหล่ของท้องถิ่นเพื่อแสดงถึงความแตกต่างของ เอกลักษณ์ในสังคมของตน ในวันสำคัญทางศาสนาต่าง ๆ จะมีวิธีการแต่งตัวและสีสันของเสื้อผ้า แตกต่างกัน โดยเฉพาะความยาวและวิธีการแต่งสาหรี่ ซึ่งเป็นชุดประจำชาติของผู้หญิงอินเดีย
·         1.  ผ้าคาดี เป็นผ้าฝ้ายดิบ เนื้อหยาบ เป็นศิลปหัตถกรรมอันเก่าแก่ มีความสำคัญทาง การเมืองด้วย
·       2.     ผ้าปาโตลา เป็นผ้ามัดหมี่ของรัฐกุจารัฐ ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของกรรมวิธีในการ ทอผ้ามัดหมี่ ผ้าสาหรี่ ปาโตลาได้รับการสงวนไว้ใช้ในชุดแต่งงานของเจ้าสาว มีลักษณะเป็นสีสด เช่น สีแดง สีเขียว และสีคราม ออกแบบด้วยรูปเรขาคณิต ดอกไม้ นกและสัตว์ต่าง ๆ รวมทั้ง ศิลปะการร่ายรำ
·     3.  ผ้าเทเลีย รูมัล (telia rumal) เป็นผ้ามัดหมี่ใช้นุ่งพันท่อนล่างของร่างกายและบางครั้งใช้ โพกศีรษะ ปัจจุบันกำลังจะสูญหายไป รัฐบาลอินเดียและหน่วยงานต่าง ๆ พยายามร่วมมือกัน เพื่อจะ รื้อ ฟื้นกรรมวิธีและรูปแบบการทอผ้าชนิดนี้
·      4.ผ้าจัมดานี (ผ้ามัสลิน) เป็นผ้าทอยกดอกที่มีรูปภาพและลวดลายที่งดงามที่สุดที่นิยม จะเป็นลายดอกไม้และใบไม้ แต่ที่สะดุดตาที่สุดของผ้าสาหรีจัมดานี คือลายโคเนีย เป็นลายดอก มะม่วงบนชายผ้า
·     5.  ผ้าสาหรี่ เป็นผ้าที่สวยงามและมีราคาแพงจะทอยกดิ้น ทองหรือเงิน ผ้าดอกจากเมือง พาราณสีในอินเดียทางเหนือ เป็นตัวอย่างสำคัญของการทอผ้าของอินเดีย ผ้าสาหรี่เป็นวิธีการ นุ่งผ้าเฉพาะผู้หญิง ความยาวของผ้าประมาณ 6 หลา มีสีสันและลวดลายต่าง ๆ การวางลายของ ผ้าสาหรี่มีกรองลายที่แน่นอน โดยรอบผืนผ้าทั้งสี่ด้าน มีการทำลายที่แตกต่างจากลายตรงกลาง ผืนผ้า ด้านที่เป็นชายผ้ามีการขยายลายให้เห็นชัดว่าเป็นชายผ้า
การนุ่งผ้าสาหรี่จะนุ่งพันรอบตัวหนึ่งรอบ แล้วนำผ้ามาพับจีบด้านหน้าบางส่วนแล้วจึง นำผ้าที่เหลือมาพันโอบไปด้านหลัง จากนั้น นำชายผ้าที่เหลือมาตวัดคลุมไหล่ ให้เหลือผ้าทิ้งชาย ลงไปทางด้านหลัง
·       1.ผ้าโรตี (Dhoti) เป็นวิธีการนุ่งผ้าทั้งชายและหญิงชาวอินเดีย
·     2.  ผ้าโรตีของผู้ชาย มีความยาว 6 หลา เป็นผ้าพันสีนวล หรือสีขาว
·     3. ผ้าโรตีของผู้หญิง มีความยาว 9 หลา เป็นผ้าที่มีสีสันลวดลายต่าง ๆ
การนุ่งผ้าโรตี จะพับจีบด้านหน้าจากชายผ้าทั้งซ้ายและขวาและนำมาทบเหน็บทางด้าน ลำตัว แล้วจึงเอาผ้าที่เหลืออีกด้านไปเหน็บไว้ด้านหลัง ผู้ชายชาวอินเดียจะนุ่งโรตีทั่วไป แต่ผู้หญิงที่นุ่งโรตีมักจะอยู่ทางอินเดียใต้ ชายผ้าโรตีของ ผู้หญิงจะไม่เหน็บเก็บหมด แต่จะเหลือชายผ้าด้านหนึ่งไว้คลุมไหล่

การแต่งกาย


        ชาวอินเดียโบราณ จะแต่งตัวคล้ายของไทยสมัยเชียงแสน ต่อมาสตรีนิยมสวมเสื้อแขนยาว แบบชาวจีน แต่ตัวสั้น เห็นหน้าท้อง นุ่งกางเกงขาลีบช้างใน ใช้ผ้าบาง ๆ เช่น ฝ้ายลินิน มัสลิน อย่างดีห่มอีกชิ้น ถ้าเป็นชาวพื้น เมืองจะนุ่งสาหรี่ หรือกระโปรงจีบดอกสีแดง หรือนุ่งกางเกงขาว ขายาว ส่วนชายนุ่งผ้าขาวใส่เสื้อแขนยาว ไว้หนวดเครา โพกผ้า
วัฒนธรรมอินเดีย
            อินเดีย เป็นสังคมที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยมีศาสนา วรรณะ และภาษา เป็นปัจจัยหลักกำหนดรูปแบบสังคมและการเมือง อินเดียมีภาษาราชการกว่า 22 ภาษา ซึ่งฮินดีเป็นภาษาประจำชาติที่ใช้กันมากที่สุด และใช้ภาษาอังกฤษในวงราชการและธุรกิจ แม้ว่าประชากรกว่าร้อยละ 82นับถือศาสนาฮินดู แต่มีประชากรที่นับถือศาสนามุสลิม (13.4%) ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของ โลก รองจากอินโดนีเซีย และปากีสถาน อีกทั้งยังมีผู้นับถือศาสนาอื่น เช่น คริสเตียน ซิกข์ พุทธ และเชน การจัดลำดับชั้นทางสังคมและอาชีพในอินเดียเป็นการสะท้อนอิทธิพลของระบบวรรณะ
 1. ระบบวรรณะ

                               ตั้งแต่สมัยโบราณวรรณะที่สำคัญมี 4 วรรณะ คือ
          1) วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ปัจจุบันอาจตีความไปถึงนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์และนักการเมือง
          2) วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ นักรบ ซึ่งอาจรวมไปถึงข้าราชการ
          3) วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า นักธุรกิจ
          4) วรรณะ ศูทร ได้แก่ ผู้ใช้แรงงาน ชาวนา กรรมกร และคนยากจน ซึ่งสามวรรณะแรก       เป็นชนชั้นผู้ปกครอง วรรณะสุดท้ายเป็นผู้ถูกปกครองแม้ว่าวรรณะเหล่านี้เป็นที่เข้าใจทั่วไปใน อินเดีย แต่ยังมีการแบ่งวรรณะต่ำสุดในในสังคมฮินดู เรียกกันว่าเป็นกลุ่มคนอันมิพึงแตะต้อง คือ จัณฑาล หรือเรียกชื่อใหม่ว่า ดาลิต มีความหมายว่า อันเป็นที่รักของพระเจ้า ซึ่งเป็นชนชั้นที่ถูกเลือกปฏิบัติ ได้รับโอกาสทางสังคมและอาชีพน้อยที่สุด ใน สังคม การปฏิรูปเศรษฐกิจและกฎหมายของอินเดียในปัจจุบันได้พยายามลดช่องว่างของ สังคมและการกีดกันทางวรรณะเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และอาชีพให้เท่าเทียมกันในสังคม เช่นมีโควตาพิเศษสำหรับนักศึกษาดาลิตในการเข้ามหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องสอบแข่ง ขัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกด้านวรรณะยังคงฝังรากลึกอยู่ในจิตใจ ซึ่งสะท้อนออกมาในด้านความคิด วัฒนธรรมและการบริหาร
2. ปรัชญาและลัทธิศาสนาของสังคมอินเดีย
           มีผู้เข้าใจว่า ปรัชญาอินเดีย หมายถึงปรัชญาฮินดู ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง ความหมายที่ถูกต้องของคำว่า ปรัชญาอินเดียก็คือ หมายถึงปรัชญาทุกสำนักหรือทุกระบบที่เกิดขึ้นในอินเดีย หรือที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นไว้โดยศาสดาและนักคิดที่เคยมีชีวิตอยู่หรือกำลังมีชีวิตอยู่ในอินเดีย เพราะฉะนั้นปรัชญาอินเดียจึงไม่ได้หมายถึงเฉพาะแต่ปรัชญาฮินดู แต่หมายรวมถึงปรัชญาอื่นที่ไม่ใช่ปรัชญาฮินดูด้วย เช่นพุทธปรัชญา ปรัชญาเชน เป็นต้น
              ปรัชญาอินเดียมีวิธีการเป็นแบบฉบับของตนเอง คือก่อนที่จะเสนอแนวความคิดของตนเองขึ้นมานักปรัชญาหรือนักคิดอินเดียจะเสนอแนวความคิดของนักปรัชญาคนอื่นหรือระบบอื่นเสียก่อน
แนวความคิดของนักปรัชญาคนอื่นหรือระบบอื่นที่เสนอก่อนนี้เรียกว่า ปูรวปักษ์ เมื่อเสนอแนวความคิดของคนอื่นขึ้นมาแล้ว ต่อจากนั้น นักปรัชญาคนนั้นก็จะวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า แนวความคิดเช่นนั้นมีจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอย่างไร มีความหมายสมควรแก่การยอมรับเชื่อถือหรือไม่ การวิพากษ์วิจารณ์โจมตีนี้ เรียกว่า ขัณฑนะ เมื่อได้ยกทรรศนะของคนอื่นขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์โจมตีชี้ให้เห็นข้อบกพร่องแล้วนักปรัชญาคนนั้นจึงเสนอแนวความคิดทางปรัชญาของตน พร้อมกับพยายามอธิบายให้เห็นว่า ทรรศนะของตนนั้นปราศจากข้อบกพร่องและเป็นทรรศนะที่ถูกต้องอย่างไรบ้าง ทรรศนะของตนเองที่เสนอขึ้นมาทีหลังนี้เรียกว่า อุตตรปักษ์
          ด้วยเหตุที่วิธีการแห่งปรัชญาอินเดียมีลักษณะดังกล่าวมานี้ จึงปรากฏว่าในบันทึกแนวความคิดทางปรัชญาระบบต่างๆของอินเดีย นอกจากจะมีแนวความคิดของตนเองโดยเฉพาะแล้ว ยังมีคำวิพากษ์วิจารณ์โจมตีแนวความคิดของระบบอื่นๆ ปรากฏรวมอยู่ด้วยเสมอ
3. เทพเจ้าของอินเดีย
             ใน บรรดาเรื่องราวของเทพเจ้าของชนชาติทั้งหลายนั้น เทพเจ้าของอินเดียนับว่ามีเรื่องราวและประวัติความเป็นมาที่ซับซ้อนมากกว่า ชาติอื่น และกล่าวกันว่า ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ ชนชาติอริยกะ หรืออินเดียอิหร่านที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุ มีการนับถือเทพเจ้าและมีคัมภีร์พระเวทเกิดขึ้น พวกอริยกะ หรืออารยันนั้น แต่เดิมก็นับถือธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ท้องฟ้า ลม และไฟ ต่อมามีการกำหนดให้ปวงเทพเกิดมีหน้าที่กันขึ้น โดยตั้งชื่อตามสิ่งที่เป็นธรรมชาตินั้นๆ แล้วก็เกิดมีหัวหน้าเทพเจ้าขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์ จากหลักฐานโบราณที่เป็นจารึกบนแผ่นดินเหนียวอายุราว 1,400 ปี ก่อนคริสตกาล เรียกว่าแผ่นจารึก โบกาซ คุย หรือจารึก เทเรีย ซึ่งขุดพบที่ตำบลดังกล่าว ของดินแดนแคปปาโดเซีย ในตุรกี จารึกนี้ ได้ออกนามเทพเจ้าเป็นพยานถึง 4 องค์ นั่นก็คือ พระอินทร์ (lndra) เทพเจ้าแห่งพลัง มิทระ (Mitra) พระวรุณ (Varuna)และ นาสัตย์ (Nasatya) คือ พระนาสัตย์อัศวิน (Asvins)
นับ เป็นชื่อเทพเจ้าที่เก่าที่สุดที่ถูกเอ่ยนาม แสดงว่าลัทธิพราหมณ์ มีมายาวนานยิ่งนัก สมัยของพระเวท จึงมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีมาก่อนพุทธกาลราว 1,000 ปีและบางตำราบอกว่า เทพเจ้าดั้งเดิมของพวกอริยกะนั้นมีพระอินทร์ พระสาวิตรี พระวรุณ และพระยม (พระสาวิตรี คือ ดวงอาทิตย์) ส่วนอีกตำราหนึ่งกล่าวว่า เทพเจ้าที่เก่าที่สุด คือ พระอินทร์ พระพฤหัสบดี พระวรุณ และพระยม เทพที่พราหมณ์ยกย่องนั้น มีเพียงไม่กี่องค์ที่ปรากฏอยู่ในพระเวท ซึ่งก็คือพระอินทร์ ที่ถือว่ามีฤทธิ์อำนาจมาก














ชุดประจำชาติอินเดีย

ชุดประจำชาติอินเดีย
          เมื่อเอ่ยถึง ส่าหรี ย่อมไม่มีใครไม่รู้จักผ้าผืนยาวสีสวย ที่หญิงอินเดียใช้ชายด้านหนึ่งพันคลุมกายท่อนล่าง ส่วนชายยาวอีกด้านพาดบ่าหรือคลุมศีรษะ เป็นชุดแต่งกายประจำชาติที่ขับความงามของสาวภารตะมาทุกยุคทุกสมัย แต่ปัจจุบันเสื้อผ้าสไตล์ตะวันตกที่มีจุดเด่นด้านความสะดวกสบายในการสวมใส่กำลังเข้ามาแทนที่ส่าหรีในชีวิตประจำวัน และกำลังบีบให้ชุดประจำชาติกลายเป็นเสื้อผ้าสำหรับโอกาสพิเศษลักษณะเดียวกับชุดกิโมโนของญี่ปุน สำหรับสาวอินเดียแล้วส่าหรีเป็นเครื่องแต่งกายสำหรับทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นชุดอยู่บ้าน ชุดทำงาน หรือชุดออกงาน ส่าหรีเป็นตัวเลือกที่เหมาะเสมอ จะมีแตกต่างก็ที่รายละเอียดของเนื้อผ้า ลวดลาย และการประดับประดาตกแต่ง

        การสวมใส่ส่าหรีเป็นเรื่องยุ่งยากไม่น้อยแม้แต่สำหรับผู้ที่ชำนาญ การจับจีบส่าหรีความยาว 5 หลา (4.5 เมตร) อาจต้องใช้เวลาตั้งแต่ 15 นาทีถึงครึ่งชั่วโมง ไหนจะมีปัญหาเรื่องการจัดรอยทบให้ถูกต้องซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาค โดยในบางรัฐต้องนำรอยทบไว้ด้านหน้า ขณะที่บางรัฐต้องไว้ด้านหลัง





























การแต่งงานในอินเดีย

  การแต่งงานในอินเดีย
ประตูวิวาห์แบบอินเดีย (I Do)
          ประเพณีการแต่งงานของชาวอินเดีย เต็มไปด้วยสีสันอันสวยสด ความมีชีวิตชีวา แฝงมนต์เสน่ห์ที่สะกดไว้ในความทรงจำ เป็นพิธีสำคัญที่แสดงถึงความรัก การตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกันของหญิงชายในฐานะสามีภรรยา และยังเป็นประตูเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสองครอบครัว
          ตามประเพณีแต่งงานของชาวอินเดีย การแต่งงานเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ถือว่าเป็นการล้างบาป และแสดงถึงการที่เจ้าบ่าวตอบแทนหนี้บุญคุณของพระเจ้า ส่วนบิดาของเจ้าสาวมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประเพณีเรียกว่า "กานยาดานา" อันเป็นการมอบลูกสาวของตนออกไปไหนพิธีแต่งงาน เจ้าบ่าวนั้นจะได้รับการยกย่องเป็น "วิศณุ" ซึ่งคู่ควรและเหมาะสมกับเจ้าสาว ผู้ถือว่าเป็นของขวัญล้ำค่าที่เทพเจ้าเท่านั้นสมควรจะได้รับ เจ้าสาวเปรียบเสมือนดั่งเทพธิดา "ลักษมี" ดังนั้น ชุดแต่งงานและเครื่องประดับของเจ้าสาวจึงถูกออกแบบมาเช่นเทพธิดา ในรูปของ "ส่าหรี" พร้อมเครื่องประดับที่ประกอบไปด้วย สร้อยคอ กำไล แหวน แหวนจมูก กำไลข้อเท้า และแหวนนิ้วเท้า




          พิธีการแต่งงานเริ่มจากการที่เจ้าบ่าวพร้อมกับญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง ส่วนหนึ่งจะเดินทางไปยังที่พักของเจ้าสาว พร้อมกับเต้นรำ และร้องเพลงไปตลอดทาง โดยที่ปลายทางจะมีครอบครัวของทั้งสองรวมกันอยู่ ซึ่งในปัจจุบันโรงแรมนับเป็นสถานที่ยอดนิยมอันแสนสะดวกที่ใช้จัดงานวิวาห์ เมื่อถึงแล้วบิดา มารดา หรือญาติฝ่ายเจ้าสาวจะพรมน้ำหอม และกลีบดอกไม้ให้กับเจ้าบ่าวเพื่อเป็นศิริมงคล สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีการแต่งงานแบบอินเดีย คือ ดอกไม้นานพันธุ์จำนวนมาก ที่ถูกนำมาใช้ประดับประดาตกแต่งสถานที่ สร้างความสดใส สวยงาม สะดุดตา ราวกับเทพนิยาย
   
          พิธีสมรสจะสิ้นสุดลงด้วยงานเลี้ยงฉลองรื่นเริงในยามค่ำคืน ที่มีการเต้นรำ และการรับประทานอาหารมื้อใหญ่ เพื่อเป็นการต้อนรับครอบครัวของเจ้าบ่าวที่นำผลไม้ และอาหารมามอบให้ ณ จุดสุดท้ายของงานเลี้ยง เจ้าสาวจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายชุดส่าหรีหลายชุดมาต้อนรับ พี่ชายของเจ้าสาวจะโปรยกลีบดอกไม้ให้คู่สมรส ตลอดทางเดินของทั้งสอง เพื่อขจัดสิ่งชั่วร้ายให้ออกไป
















เทศกาลในอินเดีย

เทศกาลโฮลี่

                เป็นเทศกาลของชาวฮินดู จัดเป็นประจำทุกปี ปีละสองวันในช่วงเดือนมีนาคม เทศกาลนี้เรียกอีกอย่างว่า เทศกาลแห่งสีสันโดยทุกคนจะสาดผงสีใส่กันอย่างสนุกสนาน หรืออาจจะสาดน้ำใส่กัน ในช่วงเย็นของวันแรกจะมีการจัดซุ้มกองไฟเพื่อทำพิธีบูชา โดยจัดไว้เฉพาะสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และมีลูกชายเท่านั้น เนื่องจากการบูชานี้ทำเพื่อสร้างสิริมงคลและปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากลูกชาย และสำหรับคู่แต่งงานใหม่ที่ยังไม่มีลูก ขอจะทำพิธีบูชาขอลูกชายในเทศกาลนี้ด้วย



เทศกาลนวราตรี
          หรือ Dusschra หรือเทศกาลแห่งประทีป 5 ดวง (festival of nine lights) ชาวอินเดียจะมีการประดับตุ๊กตา (kollu) เทพเจ้าจากเทพนิยายและเทพประจำหมู่บ้าน เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการหว่านเมล็ดพืชของเกษตรกร มีการเฉลิมฉลองกันยาว 9 วัน
วันที่ 1-3 บูชาเทวีทุรคา
วันที่ 4-6 บูชาเทวีลักษมี
วันที่ 7-9 บูชาพระสุรัสวดี
มีพิธีเจิมเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เรียกว่าพิธี “Ayuda pooja” คือพิธีเริ่มเดินเครื่องต่างๆ ในภาคเหนือ เช่น กุชราต ราชาสถาน มหารัชตระ มีการเต้นรำเฉลิมฉลองที่เรียกว่า dandiya


เทศกาลปาคี
          ปาคี (Palkhi) เป็นชื่อเรียกในท้องถิ่น หมายถึง ขบวนแห่เกี้ยวเงินอันงดงาม ภายในเกี้ยวประดิษฐานรอยเท้าทำด้วยเงิน หรือ paduka ของ Tukaram และ Dnyaneshwar ซึ่งดำเนินการโดย พวก “warkaris” หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติตามแนวทางของ “wari” อันแสดงถึงวัฒนธรรมอันโดดเด่นของรัฐมหาราษฎร์ เทศกาลปาคี (Palkhi Festival) นี้จัดขึ้นประจำทุกปีในเดือน Ashadh (มิถุนายน-กรกฎาคม) และเดือน Karthik (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ซึ่งใช้เวลาเฉลิมฉลองทั้งหมดรวม 22 วัน ที่พิเศษอย่างยิ่งคือ เทศกาลนี้มีขึ้นเฉพาะแต่ในรัฐมหาราษฎร์เท่านั้น และดำเนินต่อเนื่องยาวนานไม่ขาดตอนกว่า 1000 ปี
      ความเป็นมาของเทศกาลปาตี เริ่มขึ้นในปี 1685 โดย Narayan Baba ตัดสินใจที่จะทำการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมประเพณีของชาว dindi-wari โดยการริเริ่ม ปาคีขึ้น เป็นสัญญาณของการเคารพทางสังคม เขาได้นำรอยเท้าที่ทำด้วยเงิน (silver padukas) ของ Tukaram และรอยเท้าเงินของ Dnyaneshwar มาประดิษฐานไว้ในปาคีร่วมกัน หรือที่เรียกว่า ประเพณีปาคีคู่ (twin Palkhis) ประเพณีดังกล่าวนี้ดำเนินไปทุกปี แต่ในปี 1830 มีกรณีพิพาทภายในตระกูล Tukaram ทำให้มีการยกเลิกประเพณีปาคีคู่ และจัดแยกเป็น 2 ปาคี ได้แก่ Tukaram Palkhi จากหมู่บ้าน Dehu และ Dnyaneshwar Palkhi จากหมู่บ้าน Alandi

          ความต่อเนื่องยาวนานตามกาลเวลาของประเพณีเก่าแก่นี้แผ่ขยายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง จำนวนรวมของผู้ศรัทธาที่ดำเนินรอยตาม Sant Tukaram Palkhi จากหมู่บ้าน Dehu มีจำนวนถึง 1.5 แสนคน และผู้ศรัทธาที่ดำเนินรอยตาม Sant Dnyaneshwar Palkhi มีจำนวนถึง 2.25 แสนคน ปาคีจากทั้งสองหมู่บ้านได้มาพบกันที่เมืองปูเณ่ และหยุดพักร่วมกันชั่วคราว และจากนั้นก็แยกจากกันที่ Hadapsar เพื่อไปพบกันอีกทีที่ Wakhri หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมือง Pandharpur ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของขบวนพิธีนั้นเอง
          ผู้แสวงบุญวาร์คาริสนับแสนที่มาร่วมชุมนุมกัน ส่วนใหญ่มาจากชุมชนชาวนาในชนบท วาริ (wari) เป็นสัญลักษณ์ของศรัทธาในพระเจ้าที่ไม่สั่นคลอน เนื่องมาจากการต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก และความปรารถนาที่จะพ้นบาป แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ยากจนขัดสน แต่เต็มตื้นไปด้วยจิตวิญญาณและศรัทธาอันยิ่งใหญ่ในพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้พวกเขาแข็งแกร่งและทนทานกับความยากลำบากในชีวิตได้ ดังนั้นผู้คนจำนวนมากในรัฐมหาราษฎร์ จึงพร้อมใจเดินทางมาร่วมกัน โดยการเดินเท้าไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์ ปัลดาปุระ (Pandharpur) การเดินทางอันยากลำบากในช่วงฤดูฝน อาจนับได้ว่าเป็นการทดสอบความทนทานของร่างกายและจิตใจที่มั่นคงในศาสนาของพวกเขา
            ผู้ศรัทธาที่เข้าร่วมในพิธี ถ้าเป็นชายจะแต่งกายด้วยชุดขาว แต่หญิงใส่ชุดสาลีสีสันสวยงามแบกเครื่องสักการะหรือสัมภาระต่างๆไว้บนศีรษะ เดินเท้าไปตามทางถนนใหญ่ บ้างที่มากันเป็นกลุ่มมักมีธงสีแสดอันเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้นำหน้าขบวน บ้างแบกหม้อทองเหลืองที่มีหน่ออ่อนของต้นไม้ Tulsi ร่วมในขบวนด้วย ผู้ร่วมขบวนต่างร้องเพลง เต้นรำ ท่องบทสวด ผสมผสานกับจังหวะดนตรี อันมีฉิ่งฉาบ และกลองเป็นหลัก แห่แหนไปตามถนนใหญ่ เป็นการสร้างสีสัน ความครึกครื้น และจุดสนใจได้เป็นอย่างดี ระหว่างทาง พวกเขาจะแวะพักเหนื่อย หรือทำอาหารกินเองชั่วคราวตามรายทาง และพักค้างแรมที่วัด หรือพักแรมในที่ต่างๆ ระหว่างทาง ก่อนเดินทางต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทางดังกล่าว






เทศกาลพระคเณศ

             เทศกาลพระคเณศ (Ganpati festival) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คเณศจตุรถี (Ganesh Chaturthi) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียเลยก็ว่าได้ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ ในช่วงวันขึ้น 4 ค่ำ แห่งเดือนภาทรบท (Bhaadrapada) เดือนนี้อยู่ในระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายน
เชื่อกันว่าพระคเณศจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ เทศกาลนี้จึงมีขึ้นเพื่อจัดพิธีกรรมบูชาและเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วอินเดียและทั่วโลก สำหรับในเมืองปูเณ่ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญในการจัดเทศกาลนี้ ได้เริ่มต้นงานคเณศจตุรถีขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม และจะเฉลิมฉลองต่อเนื่องไปถึง 10 วัน
พระคเณศ หรือเป็นที่นิยมเรียกในหลายๆ ชื่อว่า พระพิฆเนศ พระพิฆเณศ พระวิฆเณศ หรือ คณปติ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู มีพระเศียรเป็นช้าง ทรงเป็นโอรสของพระศิวะ (Shiva) และ พระนางปารวตี (Parvati) เป็นที่นับถือกันอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ผู้ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง และเป็นผู้เป็นใหญ่ในการขจัดอุปสรรคทั้งปวง จึงเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดโดยเฉพาะของผู้คนในรัฐมหาราษฎร์
แต่ละบ้านเรือนจะจัดหาเทวรูปพระคเณศมาบูชา และในวันสุดท้ายของการเฉลิมฉลองนี้ ในแต่ละชุมชนจะมีการแห่แหนองค์เทวรูปพระคเณศขนาดใหญ่โตไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่างๆ ถนนหนทางทุกหนแห่งจะมีผู้คนออกมาชมการแห่องค์เทวรูปตลอดทาง ผู้ศรัทธาที่เป็นสตรีจะแต่งกายด้วยชุดส่าหรีสีสันสวยงาม และขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำสำคัญสายต่างๆ ที่ถือเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี เป็นต้น แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล