ศิลปกรรมอินเดีย
1.สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม
อินเดียได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย (ลานด้านใน ประตูโค้ง)
ที่เมืองหลวงใหม่ของพระเจ้าอัคบาร์ คือ ฟาเตห์ปูร์สิครี ใกล้เมืองอัครา
แสดงสถาปัตยกรรมแบบโมกุลแท้ในการสร้างราชวัง สุเหร่า
เช่นเดียวกับหลุมศพของพระเจ้าอัคบาร์ที่สีกันดารา และ วัดโก-แมนดาล ที่โอไดปูร์
แต่งานที่เด่นที่สุด คือ ทัชมาฮัล ประดับด้วยหินมีค่า บนยอดเป็นหินสีขาว
เส้นทุกเส้นเข้ากันได้อย่างงดงามกับสวน และน้ำพุ
นับเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
นอกจากนั้นมีสุเหร่ามุกของเมืองอัครา เกิดนิกายขึ้นหลายนิกายในหมุ่คนฮินดู เช่น
ตันตริก ซิก มาดวา ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีซากเมืองฮารับปาและโมเฮนโจดาโร
ทำให้เห็นว่ามีการวางผังเมืองอย่างดี มีสาธาร- ณูประโภคอำนวยความสะดวกหลายอย่าง
เช่น ถนน บ่อน้ำ ประปา ซึ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม ซาก
พระราชวังที่เมืองปาฏลีบุตรและตักศิลา สถูปและเสาแปดเหลี่ยม ที่สำคัญคือ
สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ) และสุสานทัชมาฮาล สร้างด้วยหินอ่อน เป็นการผสมระหว่างศิลปะอินเดียและเปอร์เชีย
สถูปเมืองสาญจี (สมัยราชวงศ์โมริยะ)
สุสานทัชมาฮาล
2. ประติมากรรม
เกี่ยวข้องกับศาสนา ได้แก่
พระพุทธรูปแบบคันธาระ พระพุทธรูปแบบมถุรา พระพุทธรูปแบบอมราวดี ภาพสลักนูนที่มหาพลิปุลัม
ได้รับการยกย่องว่ามหัศจรรย์
พระพุทธรูปแบบมถุรา
พระพุทธรูปแบบคันธาระ
พระพุทธรูปแบบมถุรา
3. จิตรกรรม
จิตรกรรม
อินเดียตามประวัติศาสตร์แล้ว
วิวัฒนาการมากจากการเขียนภาพบุคคลในศาสนาและพระมหากษัตริย์
จิตรกรรมอินเดียเป็นคำที่มาจากตระกูลการเขียนหลายตระกูลที่เกิดขึ้นในอนุ
ทวีปอินเดีย
ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปมีตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ของถ้ำเอลเลรา (Ellora Caves) ไปจนถึงงานที่ละเอียดลออของจุลจิตรกรรมของจิตรกรรมโมกุล
และงานโลหะจากตระกูล Tanjore ส่วนจิตรกรรมจากแคว้นคันธาระ-ตักกสิลา
“พระรามกับสีดาในป่า” แบบปัญจาบ ค.ศ. 1780
เป็นจิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมเปอร์เซียทางตะวันตกจิตรกรรมในอินเดียตะวันออกวิวัฒนาการในบริเวณตระกูลการเขียนของนาลันทาที่เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากตำนานเทพอินเดีย
สมัย คุปตะ และหลังสมัยคุปตะ
เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอินเดียพบงานจิตรกรรมที่ ผนังถ้ำอชันตะ
เป็นภาพเขียนในพระพุทธศาสนาแสดงถึงชาดกต่างๆ ที่งดงามมาก
ความสามารถในการวาดเส้นและการอาศัยเงามืดบริเวณขอบภาพ ทำให้ภาพแลดูเคลื่อนไหว ให้ความรู้สึกสมจริง
ภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำอชันตะ
ขอขอบคุณที่เข้ามารับชมน้ะคร้าปปป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น