วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เทศกาลในอินเดีย

เทศกาลโฮลี่

                เป็นเทศกาลของชาวฮินดู จัดเป็นประจำทุกปี ปีละสองวันในช่วงเดือนมีนาคม เทศกาลนี้เรียกอีกอย่างว่า เทศกาลแห่งสีสันโดยทุกคนจะสาดผงสีใส่กันอย่างสนุกสนาน หรืออาจจะสาดน้ำใส่กัน ในช่วงเย็นของวันแรกจะมีการจัดซุ้มกองไฟเพื่อทำพิธีบูชา โดยจัดไว้เฉพาะสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว และมีลูกชายเท่านั้น เนื่องจากการบูชานี้ทำเพื่อสร้างสิริมงคลและปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไปจากลูกชาย และสำหรับคู่แต่งงานใหม่ที่ยังไม่มีลูก ขอจะทำพิธีบูชาขอลูกชายในเทศกาลนี้ด้วย



เทศกาลนวราตรี
          หรือ Dusschra หรือเทศกาลแห่งประทีป 5 ดวง (festival of nine lights) ชาวอินเดียจะมีการประดับตุ๊กตา (kollu) เทพเจ้าจากเทพนิยายและเทพประจำหมู่บ้าน เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองการหว่านเมล็ดพืชของเกษตรกร มีการเฉลิมฉลองกันยาว 9 วัน
วันที่ 1-3 บูชาเทวีทุรคา
วันที่ 4-6 บูชาเทวีลักษมี
วันที่ 7-9 บูชาพระสุรัสวดี
มีพิธีเจิมเครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เรียกว่าพิธี “Ayuda pooja” คือพิธีเริ่มเดินเครื่องต่างๆ ในภาคเหนือ เช่น กุชราต ราชาสถาน มหารัชตระ มีการเต้นรำเฉลิมฉลองที่เรียกว่า dandiya


เทศกาลปาคี
          ปาคี (Palkhi) เป็นชื่อเรียกในท้องถิ่น หมายถึง ขบวนแห่เกี้ยวเงินอันงดงาม ภายในเกี้ยวประดิษฐานรอยเท้าทำด้วยเงิน หรือ paduka ของ Tukaram และ Dnyaneshwar ซึ่งดำเนินการโดย พวก “warkaris” หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติตามแนวทางของ “wari” อันแสดงถึงวัฒนธรรมอันโดดเด่นของรัฐมหาราษฎร์ เทศกาลปาคี (Palkhi Festival) นี้จัดขึ้นประจำทุกปีในเดือน Ashadh (มิถุนายน-กรกฎาคม) และเดือน Karthik (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ซึ่งใช้เวลาเฉลิมฉลองทั้งหมดรวม 22 วัน ที่พิเศษอย่างยิ่งคือ เทศกาลนี้มีขึ้นเฉพาะแต่ในรัฐมหาราษฎร์เท่านั้น และดำเนินต่อเนื่องยาวนานไม่ขาดตอนกว่า 1000 ปี
      ความเป็นมาของเทศกาลปาตี เริ่มขึ้นในปี 1685 โดย Narayan Baba ตัดสินใจที่จะทำการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมประเพณีของชาว dindi-wari โดยการริเริ่ม ปาคีขึ้น เป็นสัญญาณของการเคารพทางสังคม เขาได้นำรอยเท้าที่ทำด้วยเงิน (silver padukas) ของ Tukaram และรอยเท้าเงินของ Dnyaneshwar มาประดิษฐานไว้ในปาคีร่วมกัน หรือที่เรียกว่า ประเพณีปาคีคู่ (twin Palkhis) ประเพณีดังกล่าวนี้ดำเนินไปทุกปี แต่ในปี 1830 มีกรณีพิพาทภายในตระกูล Tukaram ทำให้มีการยกเลิกประเพณีปาคีคู่ และจัดแยกเป็น 2 ปาคี ได้แก่ Tukaram Palkhi จากหมู่บ้าน Dehu และ Dnyaneshwar Palkhi จากหมู่บ้าน Alandi

          ความต่อเนื่องยาวนานตามกาลเวลาของประเพณีเก่าแก่นี้แผ่ขยายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง จำนวนรวมของผู้ศรัทธาที่ดำเนินรอยตาม Sant Tukaram Palkhi จากหมู่บ้าน Dehu มีจำนวนถึง 1.5 แสนคน และผู้ศรัทธาที่ดำเนินรอยตาม Sant Dnyaneshwar Palkhi มีจำนวนถึง 2.25 แสนคน ปาคีจากทั้งสองหมู่บ้านได้มาพบกันที่เมืองปูเณ่ และหยุดพักร่วมกันชั่วคราว และจากนั้นก็แยกจากกันที่ Hadapsar เพื่อไปพบกันอีกทีที่ Wakhri หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมือง Pandharpur ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของขบวนพิธีนั้นเอง
          ผู้แสวงบุญวาร์คาริสนับแสนที่มาร่วมชุมนุมกัน ส่วนใหญ่มาจากชุมชนชาวนาในชนบท วาริ (wari) เป็นสัญลักษณ์ของศรัทธาในพระเจ้าที่ไม่สั่นคลอน เนื่องมาจากการต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก และความปรารถนาที่จะพ้นบาป แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ยากจนขัดสน แต่เต็มตื้นไปด้วยจิตวิญญาณและศรัทธาอันยิ่งใหญ่ในพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้พวกเขาแข็งแกร่งและทนทานกับความยากลำบากในชีวิตได้ ดังนั้นผู้คนจำนวนมากในรัฐมหาราษฎร์ จึงพร้อมใจเดินทางมาร่วมกัน โดยการเดินเท้าไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์ ปัลดาปุระ (Pandharpur) การเดินทางอันยากลำบากในช่วงฤดูฝน อาจนับได้ว่าเป็นการทดสอบความทนทานของร่างกายและจิตใจที่มั่นคงในศาสนาของพวกเขา
            ผู้ศรัทธาที่เข้าร่วมในพิธี ถ้าเป็นชายจะแต่งกายด้วยชุดขาว แต่หญิงใส่ชุดสาลีสีสันสวยงามแบกเครื่องสักการะหรือสัมภาระต่างๆไว้บนศีรษะ เดินเท้าไปตามทางถนนใหญ่ บ้างที่มากันเป็นกลุ่มมักมีธงสีแสดอันเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้นำหน้าขบวน บ้างแบกหม้อทองเหลืองที่มีหน่ออ่อนของต้นไม้ Tulsi ร่วมในขบวนด้วย ผู้ร่วมขบวนต่างร้องเพลง เต้นรำ ท่องบทสวด ผสมผสานกับจังหวะดนตรี อันมีฉิ่งฉาบ และกลองเป็นหลัก แห่แหนไปตามถนนใหญ่ เป็นการสร้างสีสัน ความครึกครื้น และจุดสนใจได้เป็นอย่างดี ระหว่างทาง พวกเขาจะแวะพักเหนื่อย หรือทำอาหารกินเองชั่วคราวตามรายทาง และพักค้างแรมที่วัด หรือพักแรมในที่ต่างๆ ระหว่างทาง ก่อนเดินทางต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทางดังกล่าว






เทศกาลพระคเณศ

             เทศกาลพระคเณศ (Ganpati festival) หรือที่รู้จักกันในชื่อ คเณศจตุรถี (Ganesh Chaturthi) เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอินเดียเลยก็ว่าได้ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติของพระองค์ ในช่วงวันขึ้น 4 ค่ำ แห่งเดือนภาทรบท (Bhaadrapada) เดือนนี้อยู่ในระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายน
เชื่อกันว่าพระคเณศจะเสด็จลงมายังโลกมนุษย์เพื่อประทานพรอันประเสริฐสูงสุดแก่ผู้ศรัทธาพระองค์ เทศกาลนี้จึงมีขึ้นเพื่อจัดพิธีกรรมบูชาและเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ทั่วอินเดียและทั่วโลก สำหรับในเมืองปูเณ่ ซึ่งเป็นเมืองสำคัญในการจัดเทศกาลนี้ ได้เริ่มต้นงานคเณศจตุรถีขึ้นในวันที่ 23 สิงหาคม และจะเฉลิมฉลองต่อเนื่องไปถึง 10 วัน
พระคเณศ หรือเป็นที่นิยมเรียกในหลายๆ ชื่อว่า พระพิฆเนศ พระพิฆเณศ พระวิฆเณศ หรือ คณปติ เทพเจ้าในศาสนาฮินดู มีพระเศียรเป็นช้าง ทรงเป็นโอรสของพระศิวะ (Shiva) และ พระนางปารวตี (Parvati) เป็นที่นับถือกันอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ผู้ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง และเป็นผู้เป็นใหญ่ในการขจัดอุปสรรคทั้งปวง จึงเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดโดยเฉพาะของผู้คนในรัฐมหาราษฎร์
แต่ละบ้านเรือนจะจัดหาเทวรูปพระคเณศมาบูชา และในวันสุดท้ายของการเฉลิมฉลองนี้ ในแต่ละชุมชนจะมีการแห่แหนองค์เทวรูปพระคเณศขนาดใหญ่โตไปทั่วเมืองและมุ่งหน้าไปสู่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์สายต่างๆ ถนนหนทางทุกหนแห่งจะมีผู้คนออกมาชมการแห่องค์เทวรูปตลอดทาง ผู้ศรัทธาที่เป็นสตรีจะแต่งกายด้วยชุดส่าหรีสีสันสวยงาม และขบวนแห่จะไปสิ้นสุดที่แม่น้ำสำคัญสายต่างๆ ที่ถือเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำสรัสวตี เป็นต้น แล้วทำพิธีลอยเทวรูปลงสู่แม่น้ำหรือทะเล


















































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น