ประวัติศาสตร์อินเดีย
อารยธรรมอินเดีย
อารยธรรมอินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองและมีอายุเก่าแก่ไม่แพ้อารยธรรมแหล่งอื่น
ๆ ที่กล่าวมาแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ (ประมาณ 2,500-1,500
ปี ก่อนคริสต์ศักราช)
ถือว่าเป็นสมัยอารยธรรม “กึ่งก่อนประวัติศาสตร์”
เพราะมีการค้นพบหลักฐานจารึกเป็นตัวอักษรโบราณแล้วแต่ยังไม่มีผู้ใดอ่านออก
และไม่แน่ใจว่าเป็นตัวอักษรหรือภาษาเขียนจริงหรือไม่
ศูนย์กลางความเจริญอยู่ที่เมืองโมเฮนโจ –
ดาโร และเมืองฮารัปปา
ริมฝั่งแม่น้ำสินธุประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
สันนิษฐานว่าเป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า “ทราวิฑ” หรือพวกดราวิเดียน
(Dravidian)
2. สมัยพระเวท (ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน (Indo-Aryan) ซึ่ง
อพยพมาจากเอเชียกลาง
เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น
เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย
สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์
หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ “คัมภีร์พระเวท”
ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์
นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง
คือ มหากาพย์รามายณะและมหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์
3. สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ (Maurya)
ประมาณ 600-300
ปีก่อนคริสต์ศักราช)
เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ
2 ศาสนา
คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
4. สมัยจักรวรรดิเมารยะ (Maurya) ประมาณ 321-184 ปี
ก่อนคริสต์ศักราช
พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพู
ทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย
สมัยราชวงศ์เมารยะ
พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (Asoka)
ได้
เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนทั้งใกล้และไกล
รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี
5. สมัยราชวงศ์กุษาณะ (ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana)เป็น
ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ
กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ
รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่างๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์
นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา (นิกายมหายาน) ให้เจริญรุ่งเรือง
โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต
มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์
6. สมัยจักรวรรดิคุปตะ (Gupta) ประมาณ ค.ศ.320-550
พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง
ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน
ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา
ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ
7. สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ
หรือยุคกลางของอินเดีย (ค.ศ.550 – 1206) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก
ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง
8. สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี (ค.ศ. 1206-1526)
เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย
มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
9. สมัยจักรวรรดิโมกุล (Mughul) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์
ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง
ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย
โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ
พระเจ้าอักบาร์มหาราช (Akbar) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก
ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน (Shah Jahan) ทรงสร้าง
ขอขอบคุณที่มา https://th.wikipedia.org
**** ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านกันน้ะคร้าปปปปป ****
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น